Skip to content

นิสิตในหลักสูตร

คณิตศาสตร์ (วท.ม. & วท.ด)

หลักสูตรปริญญาโท

ชื่อหลักสูตร 

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ 
Master of Science  Program in Mathematics 

ชื่อปริญญา 

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) 
Master of Science (M.Sc.) 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณสมบัติต่อไปนี้
    • มีความรู้ลึกซึ้งในด้านทฤษฎีเพียงพอที่จะสามารถพัฒนางานวิจัยทางคณิตศาสตร์หรือ สร้างองค์ความรู้ใหม่ เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ มีศักยภาพที่โดดเด่นที่จะศึกษาคณิตศาตร์ขั้นสูง
    • มีความรู้รอบกว้างขวางและสามารถเชื่อมโยงทฤษฎีกับการนำไปแก้ปัญหาในงานวิจัย ตื่นตัวในการใฝ่หาความรู้ด้วยตนเอง และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการศึกษา อภิปราย ค้นคว้า วิจัยและสื่อสารได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรมมีความรับผิดชอบและเป็นผู้นำสังคม
  2. สร้างองค์ความรู้ใหม่และเป็นแหล่งอ้างอิงทางคณิตศาสตร์

รายละเอียดหลักสูตร

แผน ก แบบ ก 1       (เน้นการวิจัยและทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว) 

                                 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร      42    หน่วยกิต   

แผน ก แบบ ก 2     (เรียนรายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)     

                                 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร      42    หน่วยกิต

ระยะเวลาการศึกษา    2  –  4  ปี

โครงสร้างหลักสูตร แผน ก
แบบ ก 1 แบบ ก 2
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร  ไม่น้อยกว่า 42 42
จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน 24
     –  รายวิชาบังคับ
     –  รายวิชาบังคับเลือก 9
     –  รายวิชาเลือก 15
จำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 42 18

หมายเหตุ     ผู้ที่เข้าศึกษาแผน ก แบบ ก1  หากมีพื้นฐานความรู้ไม่เพียงพอ  คณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ อาจกำหนดให้เรียนรายวิชา หรือทำกิจกรรมทางวิชาการอื่นเพิ่มเติม โดยไม่นับหน่วยกิต

นิสิตใหม่ระดับปริญญาโท สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ที่เข้าศึกษาในภาคการศึกษาต้น และสนใจเข้าร่วมโครงการ  Double-Degree Master’s Program in Mathematics ร่วมกับ the Graduate School of Natural Science and Technology, Kanazawa University  ประเทศญี่ปุ่น สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมตามรายละเอียดข้างท้าย หรือยื่นคำขอเข้าร่วมโครงการ/สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ในวันปฐมนิเทศ หรือติดต่อสอบถามประธานหลักสูตรฯ email:  yotsanan.m@chula.ac.th 

หลักเกณฑ์การสมัคร (สำหรับนักศึกษาใหม่ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาแรกของแต่ละปีการศึกษา)
หรือดูรายละเอียดที่เว็บไซต์  https://cmpsci.w3.kanazawa-u.ac.jp/DDP/

  • ระยะเวลารับสมัคร:  สัปดาห์สุดท้ายของเดือนกรกฎาคม – สัปดาห์แรกของเดือนสิงหาคมของทุกปี
  • การสอบปากเปล่า:   เดือนสิงหาคมของทุกปี 
  • สถานที่สอบ: จะแจ้งให้ทราบทางอีเมล์

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ดูได้ที่  GUIDELINES FOR APPLICANTS (Master’s Course)

Master Program

รายละเอียดหลักสูตรปริญญาโท (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)

DDP Program

แผนการศึกษาหลักสูตร
Double-Degree Program

Course Description

เนื้อหารายวิชา (ป.โท)

หลักสูตรปริญญาเอก

ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์
Doctor of Philosophy Program in Mathematics

ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต  (วท.ด.)
Doctor of Philosophy (Ph.D.)

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณสมบัติต่อไปนี้
    • มีศักยภาพในการวิจัยเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
    • มีความรู้และทักษะทางคณิตศาสตร์ที่สามารถถ่ายทอดและต่อยอดเป็นองค์ความรู้ใหม่ของตนเอง
    • มีความตื่นตัวในการใฝ่หาความรู้ด้วยตนเอง และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
    • สามารถใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการศึกษา อภิปราย ค้นคว้า วิจัยและสื่อสารได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
    • มีคุณธรรม มีความรับผิดชอบและเป็นผู้นำสังคม
  2. สร้างองค์ความรู้ใหม่และเป็นแหล่งอ้างอิงทางคณิตศาสตร์
 

รายละเอียดหลักสูตร

แบบ 1  เน้นการทำวิทยานิพนธ์
แบบ  1.1         สำหรับผู้เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญาโท      จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร       60  หน่วยกิต
แบบ  1.2         สำหรับผู้เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญาตรี      จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร       72  หน่วยกิต

 แบบ 2  เรียนรายวิชาและทำวิทยานิพนธ์

แบบ  2.1         สำหรับผู้เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญาโท      จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร      60  หน่วยกิต
แบบ  2.2         สำหรับผู้เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญาตรี      จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร      72  หน่วยกิต

 ระยะเวลาการศึกษา     3  ปี  สำหรับผู้เข้าด้วยวุฒิปริญญาโท และ 4  ปี  สำหรับผู้เข้าด้วยวุฒิปริญญาตรี

 

 โครงสร้างหลักสูตร แบบ 1.1 แบบ 1.2 แบบ 2.1 แบบ 2.2
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร  ไม่น้อยกว่า 60 72 60 72
จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน 12 24
     –  รายวิชาบังคับเลือก 9
     –  รายวิชาเลือก 12 15
จำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 60 72 48 48

หมายเหตุ

1.   นิสิตทุกคนต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชา 2301894  สัมมนาวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิตทุกภาคการศึกษาจนกว่าจะสำเร็จการศึกษาโดยไม่นับหน่วยกิต ประเมินผลเป็น  S/U และต้องได้รับสัญลักษณ์ S ในภาคการศึกษาสุดท้ายก่อนสำเร็จการศึกษา
2.  ผู้ที่เข้าศึกษาแบบ 1 และแบบ 1.2  คณะกรรมการบริหารหลักสูตรอาจกำหนดให้เรียนรายวิชาหรือทำกิจกรรมทางวิชาการอื่นเพิ่มเติมโดยไม่นับหน่วยกิต

Doctoral Program

รายละเอียดหลักสูตรปริญญาเอก
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566 )

Course Description

เนื้อหารายวิชา (ป.เอก)

การสอบวัดคุณสมบัติ​

การสอบวัดคุณสมบัติสำหรับหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต (Qualifying Examination) เป็นการสอบวัดความรู้พื้นฐาน ทักษะเชิงวิเคราะห์ และศักยภาพของนิสิตในการทำงานวิจัยโดยอิสระเพื่อแสดงถึงศักยภาพและความพร้อมของนิสิตที่จะศึกษาในระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต

ข้อกำหนดเกี่ยวกับการสอบวัดคุณสมบัติ มีรายละเอียดดังนี้

  1. นิสิตจะสอบวัดคุณสมบัติได้ก็ต่อเมื่อ
    1. ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ
    2. นิสิตที่เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญาโทหรือวุฒิปริญญาตรีที่ได้รับปริญญาเกียรตินิยม สามารถลงทะเบียนสอบวัดคุณสมบัติได้ ตั้งแต่ภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา  สำหรับนิสิตที่เข้าศึกษาในหลักสูตรแบบต่อเนื่องด้วยวุฒิปริญญาตรีที่ไม่ได้รับปริญญาเกียรตินิยม  (เฉพาะนิสิตแผน ก แบบก 2)  ต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาในหลักสูตรไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต (*)  และมีแต้มเฉลี่ยสะสม 3.25 ขึ้นไป     จึงจะลงทะเบียนสอบวัดคุณสมบัติได้
  2. นิสิตต้องลงทะเบียนและสอบวัดคุณสมบัติ  โดยได้รับสัญลักษณ์ S (ผ่าน)       ภายใน  4  ภาคการศึกษานับแต่ภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษาสำหรับผู้เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญาโท    และภายใน  5  ภาคการศึกษานับตั้งแต่ภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษาสำหรับผู้เข้าด้วยวุฒิปริญญาตรี (**)
  3. นิสิตที่สอบวัดคุณสมบัติแล้ว ผลปรากฏว่าได้สัญลักษณ์ U อาจลงทะเบียนสอบได้อีก 1 ครั้ง  ถ้าได้ U สองครั้ง จะพ้นสภาพความเป็นนิสิต   เว้นแต่ได้รับอนุมัติจากหลักสูตรฯ ให้เปลี่ยนเข้าสู่ระดับปริญญามหาบัณฑิต
  4. การสอบวัดคุณสมบัติประกอบด้วยการสอบข้อเขียน
  5. นิสิตต้องสอบผ่าน 2 สาขาวิชาจาก 4 สาขาวิชา ได้แก่ Algebra, Analysis, Topology+Geometry  และ Applied Mathematics  และในแต่ละสาขาวิชาให้เลือกสอบ 2 วิชา โดยจะต้องได้คะแนนสอบอย่างน้อย 50%  ของแต่ละสาขาวิชานั้น จึงจะถือว่าสอบผ่าน
  6. ในแต่ละภาคการศึกษา นิสิตสามารถเลือกสอบ 1 สาขาวิชา หรือ 2 สาขาวิชาก็ได้ ถ้าสอบผ่านเพียง 1 สาขา ถือว่าสอบผ่านในสาขาวิชานั้น และสามารถสอบอีก 1 สาขาวิชา ที่ยังไม่ผ่านในภาคการศึกษาต่อไป

(*, **) สำหรับนิสิตที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไป

เนื้อหาของแต่ละสาขาครอบคลุมรายวิชาต่อไปนี้

2301610   Linear and Multilinear Algebra
– Basic concepts; linear maps; linear geometry; multilinear algebra; quadratic forms.

2301613   Abstract Algebra I
– Groups; group actions; Sylow theorems; rings; ideals; polynomial rings; unique factorization domains;
  fields and field extensions.

2301614   Abstract Algebra II
– Jordan-Holder theorem; solvable groups; free groups; classification of extension fields; Galois theory;
   Noetherian ring; modules.

2301620   Mathematical Analysis
– The real number system; metric spaces; sequences and series of real numbers; continuity;
   differentiation; the Riemann integral; uniform convergence; the Arzela-Ascoli theorem; the Stone-
  Weierstrass theorem.

2301621   Real Analysis I
– Measures; integration; normed linear spaces;  – spaces; Hilbert spaces.

2301622   Real Analysis II
– Product measures; signed and complex measures; differentiation; Banach spaces.

2301623   Complex Analysis
– Holomorphic functions; complex power series; complex line integrals; Cauchy theorem, Cauchy integral
  formula and applications; calculus of residues; maximum modulus principle; conformal mappings,
  normal families, Riemann mapping theorem; harmonic functions.

2301631 Topology
– Topological spaces; complete metric spaces; product spaces; quotient spaces; countability axioms;
  separation axioms; connectedmess; compactness; compactifications; net convergence; function
  spaces.

2301632   Algebraic Topology
– Homotopy; fundamental groups; covering spaces; van Kampen’s theorem; simplicial homology; singular
  homology CW-complexes; cellular homology; Eilenberg-Steenrod axioms.

2301635   Differentiable Manifolds
– Differentiable manifolds, tangent spaces; vector fields and flows; immersions and submersions;
  Frobenius’ theorem; integration on manifols, differential forms, Stokes’theorem; introduction to Lie
  groups and Lie algebras.

บังคับสอบรายวิชา  2301653   Numerical Analysis
– Solutions of systems of linear and non-linear equations, numerical methods for ordinary 
  differential equations, finite difference methods for two-point boundary value problems and finite
  difference methods for partial differential equations.

และเลือกสอบอีก 1 รายวิชาจาก 3 รายวิชาต่อไปนี้

2301641  Method of Applied Mathematics I
– Theory of distribution, Green’s functions, operator theory, perturbation method.

2301650  Partial Differential Equations
– First-order equations; linear second-order PDEs; representation of solutions; introduction to Hamilton-
  Jacobi equations; other ways to represent solutions. 

2301676  Stochastic Models
– Stochastic programming models, probabilistic dynamic programming models, Markov chain, waiting line
  models, birth-death process.

แบบฟอร์มขอสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Exam)

นิสิตที่ประสงค์จะสอบวัดคุณสมบัติ ประจำภาคการศึกษาต้น กรอกแบบฟอร์มภายในเดือนกรกฎาคม และภายในเดือนธันวาคม สำหรับภาคการศึกษาปลาย

การสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์

การสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ เป็นการสอบวัดความรู้ความเข้าใจของนิสิตในเรื่องที่เกี่ยวกับประเด็นปัญหา ระเบียบวิธีการวิจัย      วิธีการและเทคนิคที่ใช้ในการแก้ปัญหางานวิจัย  การสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ในหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต ต้องมีการสอบความรู้พื้นฐาน   และความรู้เชิงลึกที่จำเป็นในการทำวิทยานิพนธ์ เพื่อให้แน่ใจว่านิสิตมีความรู้ที่จำเป็นเพียงพอในการทำงานวิจัย 

  • สำหรับนิสิตหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต ต้องได้รับอนุมัติโครงร่างภายใน 2 ปีการศึกษานับแต่ภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา
  • สำหรับนิสิตปริญญาดุษฎีบัณฑิต ต้องได้รับอนุมัติโครงร่างภายใน 3 ปีการศึกษานับแต่ภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา ยกเว้นหลักสูตรบริหารแบบต่อเนื่องนิสิตจะสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์เมื่อใดก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่า 60 วันก่อนสอบวิทยานิพนธ์ 

     ♦  ขั้นตอนการเสนอโครงร่างวิทยานิพนธ์

     ♦  รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 
    (รายชื่อผู้ที่เข้าข่ายเป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกระดับปริญญาโทและเอก ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ แล้ว)
     ♦  แบบฟอร์มเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 
    (สำหรับนิสิตที่ประสงค์จะเสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก นอกเหนือจากรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกข้างต้น)

การสอบวิทยานิพนธ์

การสอบวิทยานิพนธ์  เป็นการสอบวัดความรู้ความเข้าใจของนิสิตในเรื่องที่เกี่ยวกับประเด็นปัญหา ระเบียบวิธีการวิจัย วิธีการและเทคนิคที่ใช้ในการแก้ปัญหางานวิจัย การสอบวิทยานิพนธ์ต้องมีการสอบวัดความรู้พื้นฐานและความรู้เชิงลึกที่ใช้ในการทำวิทยานิพนธ์เพื่อประเมินว่านิสิตมีความรู้และความเข้าใจในงานวิจัย 

นิสิตจะสอบวิทยานิพนธ์ได้ ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
1.  ลงทะเบียนเรียนรายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
2.  ได้รับอนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์จากคณะกรรมการบริหารคณะเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 60 วันก่อนวันสอบวิทยานิพนธ์ ในกรณีที่โครงร่างวิทยานิพนธ์ไม่มีข้อแก้ไขในสาระสำคัญ และคณะกรรมการบริหารคณะอนุมัติให้สอบวิทยานิพนธ์ได้ก่อนระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง โดยให้เริ่มต้นนับระยะเวลาดังกล่าวตั้งแต่วันที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรเห็นชอบโครงร่างวิทยานิพนธ์
3.  มีหลักฐานแสดงว่า ได้ส่งบทความวิจัยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ให้วารสารทางวิชาการพิจารณาเพื่อการตีพิมพ์ หรือได้รับการตอบรับให้ไปเสนอผลงานต่อที่ประชุมวิชาการแล้ว ทั้งนี้ ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระเบียบหรือประกาศมหาวิทยาลัย
4.  ผ่านเกณฑ์การทดสอบภาษาอังกฤษตามที่มหาวิทยาลัย/หลักสูตรกำหนด 

กำหนดการสอบวิทยานิพนธ์ การส่งวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ และการส่งบทความการเผยแพร่ผลงานวิทยานิพนธ์ ปีการศึกษา 2567 (PDF)

ขั้นตอนการสอบวิทยานิพนธ์ (PDF)

โปรแกรมบริหารจัดการวิทยานิพนธ์ (iThesis)  (Program)

แบบฟอร์มขอสอบวิทยานิพนธ์ (Form)

โปรแกรมตรวจสอบวิทยานิพนธ์ Turnitin   (Program)

เกณฑ์การประเมินผลการสอบวิทยานิพนธ์ (PDF)

แนวปฏิบัติการส่งวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์  (PDF)

ใบตรวจสอบเอกสารขอสำเร็จการศึกษา (PDF)

แบบตรวจสอบความสมบูรณ์ทางการศึกษา (PDF/EXL)

แบบประเมินหลักสูตรออนไลน์ (Form)

แบบฟอร์มข้อมูลการเข้าร่วม/เสนอผลงานวิชาการ /งานวิจัยที่ได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ  (PDF,DOC)

แนวปฏิบัติการตรวจสอบวิทยานิพนธ์

วิทยานิพนธ์ที่เขียนด้วยภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศอื่นทั้งหมดหรือบางส่วน ให้นิสิตตรวจสอบโดยใช้โปรแกรม Turnitin และโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ สำหรับวิทยานิพนธ์ที่เขียนด้วยภาษาไทย ให้ตรวจสอบด้วยโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์

ทุนการศึกษา

ทุนยกเว้นค่าเล่าเรียน (สำหรับนิสิตปริญญาโท) จำนวนเงิน 33,500 บาท/เทอม ระยะเวลาการให้ทุน 2 ปี

  • ทุนประเภท คณะฯ100% : นิสิตชำระค่าลงทะเบียนเทอมแรกที่เข้าศึกษา และนำใบเสร็จมาเบิกหลักสูตรฯ
  • ทุนประเภท คณะฯ 50/หลักสูตรฯ 50 : นิสิตชำระค่าลงทะเบียนและนำใบเสร็จมาเบิก

กำหนดเปิดรับสมัคร  :  (ภาคต้น)  สัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคม   |   (ภาคปลาย) สัปดาห์แรกของเดือนธันวาคม

ดาวน์โหลด:   ใบสมัคร

เอกสารประกอบการเบิกเงินทุนใบเสร็จค่าลงทะเบียน (ต้นฉบับ), สำเนาบัตรนิสิต, สำเนาหน้าแรกของบัญชีธนาคาร

ได้แก่ ทุน 60/40 , ทุน 72 พรรษา , ทุน 100 ปี จุฬาฯ , ทุน 60 พรรษา ฯลฯ 
ดูรายละเอียด/ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่เว็บไซต์บัณฑิตวิทยาลัย www.grad.chula.ac.th (เมนูทุนอุดหนุนการศึกษา) 
และนำใบสมัครมาส่งที่หลักสูตรภายในกำหนดการข้างท้าย  (ยกเว้นทุน 60/40 ใช้ใบสมัครของหลักสูตร)

กำหนดเปิดรับสมัคร  :  (ภาคต้น)    สัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคม  |   (ภาคปลาย) สัปดาห์แรกของเดือนธันวาคม

ดาวน์โหลด :  ใบสมัคร 

เอกสารประกอบการเบิกเงินทุน 

 

ทุนอุดหนุนการศึกษาเพื่อปฏิบัติงานช่วยสอน จำนวน 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์  เป็นเวลา 9 เดือน  โดยปฏิบัติงานช่วยสอนตั้งแต่เดือนสิงหาคม – เดือนเมษายน

  • ระดับปริญญาโท  ต่อคน  เดือนละไม่เกิน 6,000 บาท
  • ระดับปริญญาเอก ต่อคน  เดือนละไม่เกิน 7,000 บาท

กำหนดเปิดรับสมัคร  :   ประมาณเดือนกรกฎาคมของทุกปี

ดาวน์โหลด :  ใบสมัคร

เอกสารประกอบการเบิกเงินทุน : รายงานการปฏิบัติงานผู้ช่วยสอน ,สำเนาหน้าแรกของบัญชีธนาคาร และสำเนาบัตรนิสิต

เบิกได้เฉพาะค่าลงทะเบียน เบิกจ่ายตามที่จ่ายจริง คนละไม่เกิน 1,000 บาท

วิธีการสมัคร : นิสิตแจ้งความประสงค์เข้าร่วมประชุมล่วงหน้าอย่างน้อย 2 เดือนก่อนกำหนดการประชุม
**เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะฯ จึงชำระค่าลงทะเบียน และนำใบเสร็จมาเบิกภายหลังกำหนดการประชุม**

ดาวน์โหลด:   ใบสมัคร

เอกสารประกอบการเบิกเงินทุน : ใบเสร็จรับเงินค่าลงทะเบียน (ต้นฉบับ) ระบุชื่อ นามสกุลนิสิต, สำเนาบัตรนิสิต, สำเนาหน้าแรกของบัญชีธนาคาร และรายงานการเดินทางไปร่วมประชุม

(1) เสนอผลงานวิชาการในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล

  • ค่าลงทะเบียน เบิกจ่ายตามที่จ่ายจริง คนละไม่เกิน 7,000 บาท
  • ค่าที่พัก เบิกจ่ายตามที่จ่ายจริง (ในเขตปริมณฑล) ต่อคนวันละไม่เกิน 800 บาท
  • ค่าพาหนะเดินทาง เบิกจ่ายตามที่จ่ายจริง คนละไม่เกิน 600 บาท

(2) เสนอผลงานวิชาการในต่างจังหวัด

  • ค่าลงทะเบียน เบิกจ่ายตามที่จ่ายจริง คนละไม่เกิน 7,000 บาท
  • ค่าที่พัก เบิกจ่ายตามที่จ่ายจริง ไม่เกินวันละ 800 บาท
  • ค่าเบี้ยเลี้ยง เหมาจ่าย ต่อคนวันละ ไม่เกิน 300 บาท
  • ค่าพาหนะเดินทาง เบิกจ่ายได้ไม่เกินอัตราค่าโดยสารรถประจำทาง รถมาตรฐาน 1ข หรือรถมาตรฐาน 4 ข (2 ชั้น) หรือ
    รถไฟตู้ปรับอากาศนั่งหรือนอน ชั้น 2 หรือค่าโดยสารเครื่องบินไป-กลับชั้นประหยัด

วิธีการสมัคร  :  นิสิตแจ้งความประสงค์เข้าร่วมประชุมล่วงหน้าอย่างน้อย 2 เดือนก่อนกำหนดการประชุม
**เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะฯ จึงชำระค่าลงทะเบียน และนำใบเสร็จมาเบิกภายหลังกำหนดการประชุม**

ดาวน์โหลด :  ใบสมัคร 

เอกสารประกอบการเบิกเงินทุนใบเสร็จค่าลงทะเบียน (ต้นฉบับ) , ค่าที่พัก, ค่าเดินทาง (ระบุชื่อ นามสกุล ที่อยู่นิสิต), ใบสำคัญรับเงินค่าเบี้ยเลี้ยง, สำเนาบัตรนิสิต, สำเนาหน้าแรกของบัญชีธนาคาร และรายงานการเดินทางไปร่วมประชุม

หลักสูตรฯ ให้ทุนสนับสนุนกิจกรรมในต่างประเทศ เพิ่มเติม ได้แก่

  • การไปร่วมประชุมเพื่อเพิ่มพูนความรู้
  • การไปเสนอผลงานวิชาการ
  • การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop)
  • Summer School

เบิกจ่ายตามอัตราข้างท้าย  (ระดับปริญญาโท ไม่เกินวงเงิน 20,000 บาทและปริญญาเอก ไม่เกินวงเงิน 30,000 บาท)

  • ค่าสมัครหรือค่าลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม รวมถึงค่าอาหาร ที่พัก ค่าเอกสาร ให้เบิกจ่ายตามที่จ่ายจริง
  • ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าที่พักนิสิต กรณีที่หน่วยงานผู้จัดไม่จัดที่พักและอาหารเหมาจ่าย ต่อคนวันละ 2,500 บาท
  • ค่าพาหนะเดินทางระหวางประเทศโดยเครื่องบินสำหรับนิสิต ให้เบิกจ่ายตามที่จ่ายจริงโดยชั้นประหยัด
  • ค่าพาหนะเดินทางไป-กลับระหว่างที่อยู่ ที่พัก กับสนามบินในประเทศ ให้เบิกจ่ายตามที่จ่ายจริง เที่ยวละ 500 บาท

ดาวน์โหลด :  ใบสมัคร

เอกสารประกอบการเบิกเงินทุน : ใบเสร็จค่าลงทะเบียน (ต้นฉบับ) , ค่าที่พัก, ค่าเดินทาง (ระบุชื่อ นามสกุล ที่อยู่นิสิต),
ใบสำคัญรับเงินค่าเบี้ยเลี้ยง, สำเนาบัตรนิสิต, สำเนาหน้าหน้าแรกของบัญชีธนาคารและรายงานการเดินทางไปร่วมประชุม

นิสิตระดับปริญญาโท และเอก สามารถขอทุนไปเสนอผลงานวิชาการในต่างประเทศได้ ไม่เกิน 1 ครั้งตลอดการศึกษา จากบัณฑิตวิทยาลัย (เป็นทุนร่วมกับคณะ/หลักสูตร)

  • ระดับปริญญาโท ในวงเงินไม่เกิน 40,000 บาท
  • ระดับปริญญาเอก ในวงเงินไม่เกิน 60,000 บาท

ดูรายละเอียดและดาวน์โหลดแบบฟอร์มขอรับทุนได้ที่เว็บบัณฑิตวิทยาลัย https://www.grad.chula.ac.th/ (เมนูทุนอุดหนุนการวิจัย) และส่งใบสมัครที่หลักสูตรฯ ล่วงหน้าอย่างน้อย 2 เดือนก่อนกำหนดการเดินทางไปเสนอผลงานวิชาการ

นอกจากนี้ นิสิตสามารถขอทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายเหมาจ่ายในการเดินทางไปเสนอผลงานวิชาการในต่างประเทศจากหลักสูตร
สมทบเพิ่มเติมได้ โดยจะต้องมีแหล่งทุนอื่นสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปเสนอผลงานวิชาการ และผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ