Skip to content

นิสิตในหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต และ หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (วท.ม. , วท.ด.)

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร

  • แผน ก แบบ ก 1                                                   
    • จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร  36  หน่วยกิต
    • ระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 4  ปีการศึกษา
  • แผน ก แบบ ก 2
    • จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร  36  หน่วยกิต
    • ระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน  4  ปีการศึกษา
  • แผน ข
    • จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร  36  หน่วยกิต
    • ระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน  4 ปีการศึกษา

โครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร แผน ก แบบ ก 1 แผน ก แบบ ก 2 แผน ข
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 36 36
จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน 24 30
    –  รายวิชาบังคับเลือก  18 18
    –  รายวิชาเลือก 6 12
จำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 36 12
จำนวนหน่วยกิตการค้นคว้าอิสระ 6
  • รายวิชา
รายวิชาบังคับเลือก (แผน ก. แบบ ก2 และแผน ข)

18  หน่วยกิต

    นิสิตจะต้องเรียนรายวิชาทุกกลุ่มโดยในแต่ละกลุ่มต้องเลือกเรียนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

    กลุ่มรายวิชาเชิงทฤษฎี

2301652

การวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการประยุกต์

Numerical Analysis and Applications

3(3-0-9)

2301681

 

การออกแบบและวิเคราะห์ขั้นตอนวิธี

Design and Analysis of Algorithms

3(3-0-9)

2301750

ทฤษฎีออโตมาตา

Automata Theory

3(3-0-9)

2301770

คณิตศาสตร์ดีสครีตขั้นสูง

Advanced Discrete Mathematics

3(3-0-9)

     กลุ่มรายวิชาเชิงระบบ

2301710

ระบบฐานข้อมูล

Database Systems

3(3-0-9)

2301732

การจัดระบบคอมพิวเตอร์

Computer System Organization

3(3-0-9)

2301736

ระบบคอมพิวเตอร์แบบกระจาย

Distributed Computer Systems

3(3-0-9)

2301762

การออกแบบสถาปัตยกรรมเครือข่าย

Network Architecture Design

3(3-0-9)

กลุ่มรายวิชาเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศ

2301651

การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ

Information Technology Management

3(3-0-9)

2301657

การวางแผนทรัพยากรขององค์กร

Enterprise Resource Planning

3(3-0-9)

2301659

ตัวแบบธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และการประยุกต์

E-Business Modeling and Applications

3(3-0-9)

2301663

การออกแบบเชิงวัตถุ
Object-Oriented Design

3(3-0-9)

2301712

ระเบียบวิธีซอฟต์แวร์

Software Methodology

3(3-0-9)

 

3.1.3.2  รายวิชาเลือก  แผน ก. แบบ ก2

รายวิชาเลือก แผน ข

6  หน่วยกิต

12 หน่วยกิต

2301656

เหมืองข้อมูลและการประยุกต์

Data Mining and Applications

3(3-0-9)

2301658

การบริหารกระบวนการธุรกิจ

Business Process Management

3(3-0-9)

2301667

ความสามารถในการใช้งานและการออกแบบเว็บ

Usability and Web Design

3(3-0-9)

2301686

ตรรกศาสตร์ฟัสสิ
Fuzzy Logic

3(3-0-9)

2301689

ข่ายงานประสาทประดิษฐ์

Artificial Neural Networks

3(3-0-9)

2301752

เรื่องขั้นสูงทางการคำนวณ 

Advanced Topics in Computing 

3(3-0-9)

2301753

เรื่องขั้นสูงทางชีวสารสนเทศและชีววิทยาเชิงคำนวณ 

Advanced Topics in Bioinformatics and Computational Biology 

3(3-0-9)

2301754

เรื่องขั้นสูงทางการพัฒนาซอฟต์แวร์ 

Advanced Topics in Software Development 

3(3-0-9)

2301755

เรื่องขั้นสูงทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

Advanced Topics in Information Technology

3(3-0-9)

2301756

เรื่องขั้นสูงทางความฉลาดเชิงคอมพิวเตอร์ 

Advanced Topics in Computational Intelligence 

3(3-0-9)

2301793

หัวข้อพิเศษทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 1

Special Topics in Computer Science I

3(0-0-12)

2301794

หัวข้อพิเศษทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 2

Special Topics in Computer Science II

3(0-0-12)

หมายเหตุ

1.       นิสิตสามารถลงทะเบียนรายวิชาเลือกจากหมวดรายวิชาบังคับเลือกได้ โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่ลงทะเบียนรายวิชาบังคับเลือก 18 หน่วยกิต

2.       นอกจากนี้ นิสิตสามารถลงทะเบียนเรียนรายวิชาระดับบัณฑิตศึกษาอื่นได้โดยได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา และคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

 

 

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร

  • แบบ 1.1  (สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญามหาบัณฑิต)  48  หน่วยกิต
    • ระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน  6  ปี
  • แบบ 2.2  (สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาบัณฑิต)  72  หน่วยกิต
    • ระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน  8  ปี

โครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร แบบ 1.1 แบบ 2.2
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 48 72
  จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน 24
     –  รายวิชาบังคับ 9
     –  รายวิชาบังคับเลือก  9
     –  รายวิชาเลือก 6
  จำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 48 48

การสอบวัดคุณสมบัติ

การสอบวัดคุณสมบัติสำหรับหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต  (Qualifying Examination)  เป็นการสอบวัดความรู้พื้นฐานทักษะเชิงวิเคราะห์ และศักยภาพของนิสิตในการทำงานวิจัยโดยอิสระเพื่อแสดงถึงศักยภาพและความพร้อมของนิสิตที่จะศึกษาในระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต

หลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการสอบวัดคุณสมบัติให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัย

นิสิตสามารถสอบวัดคุณสมบัติได้ก็ต่อเมื่อ

  1. ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
  2. ลงทะเบียนรายวิชาการสอบวัดคุณสมบัติ 2301897 ในภาคการศึกษาการศึกษาที่จะสอบวัดคุณสมบัติ เว้นแต่่นิสิตที่เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญาโทหรือวุฒิปริญญาตรีที่ได้รับปริญญาเกียรตินิยม สามารถลงทะเบียนสอบวัดคุณสมบัติได้ตั้งแต่ภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา

นิสิตหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิตต้องสอบวัดคุณสมบัติและได้รับสัญลักษณ์ S ภายในกำหนดยะระเวลาดังต่อไปนี้ นับตั้งแต่ภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา 

  1. นิสิตที่เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญาโท ภายใน 4 ภาคการศึกษา
  2. นิสิตที่เข้าศึกษาด้วยวุฒิปริญญาตรี ภายใน 5 ภาคการศึกษา   

นิสิตที่สอบวัดคุณสมบัติแล้ว ผลปรากฏว่าได้สัญลักษณ์ U อาจลงทะเบียนสอบได้อีก 1 ครั้ง  ถ้าได้ U สองครั้งจะพ้นสภาพความเป็นนิสิต เว้นแต่ได้รับอนุมัติจากหลักสูตรฯ ให้เปลี่ยนเข้าสู่ระดับปริญญามหาบัณฑิต

การสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์

การสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ เป็นการสอบวัดความรู้ความเข้าใจของนิสิตในเรื่องที่เกี่ยวกับประเด็นปัญหา ระเบียบวิธีการวิจัย วิธีการและเทคนิคที่ใช้ในการแก้ปัญหางานวิจัย 

การสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ในหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต ต้องมีการสอบความรู้พื้นฐานและความรู้เชิงลึกที่จำเป็นในการทำวิทยานิพนธ์ เพื่อให้แน่ใจว่านิสิตมีความรู้ที่จำเป็นเพียงพอในการทำงานวิจัย 

หลักเกณฑ์และกำหนดเวลาตามประกาศคณะวิทยาศาสตร์ 

  • สำหรับนิสิตหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต ต้องได้รับอนุมัติโครงร่างภายใน 2 ปีการศึกษานับแต่ภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา
  • สำหรับนิสิตปริญญาดุษฎีบัณฑิต ต้องได้รับอนุมัติโครงร่างภายใน 3 ปีการศึกษานับแต่ภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา 

หากนิสิตมิได้รับอนุมัติโครงร่างภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้พ้นสถานภาพการเป็นนิสิตเว้นแต่มีเหตุอันจำเป็นและสมควร คณะกรรมการบริหารคณะอาจขยายกำหนดเวลาต่อไปอีก 1 ภาคการศึกษาได้

กำหนดการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ ปีการศึกษา 2566

การสอบวิทยานิพนธ์

เป็นการสอบวัดความรู้ความเข้าใจของนิสิตในเรื่องที่เกี่ยวกับประเด็นปัญหา ระเบียบวิธีการวิจัย วิธีการและเทคนิคที่ใช้ในการแก้ปัญหางานวิจัย การสอบวิทยานิพนธ์ต้องมีการสอบวัดความรู้พื้นฐานและความรู้เชิงลึกที่ใช้ในการทำวิทยานิพนธ์เพื่อประเมินว่านิสิตมีความรู้และความเข้าใจในงานวิจัย   

นิสิตจะสอบวิทยานิพนธ์ได้ ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้

  1. ลงทะเบียนเรียนรายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
  2. ได้รับอนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์จากคณะกรรมการบริหารคณะเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 60 วันก่อนวันสอบวิทยานิพนธ์ ในกรณีที่โครงร่างวิทยานิพนธ์ไม่มีข้อแก้ไขในสาระสำคัญ และคณะกรรมการบริหารคณะอนุมัติให้สอบวิทยานิพนธ์ได้ก่อนระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง โดยให้เริ่มต้นนับระยะเวลาดังกล่าวตั้งแต่วันที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรเห็นชอบโครงร่างวิทยานิพนธ์
  3. มีหลักฐานแสดงว่า ได้ส่งบทความวิจัยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ให้วารสารทางวิชาการพิจารณาเพื่อการตีพิมพ์ หรือได้รับการตอบรับให้ไปเสนอผลงานต่อที่ประชุมวิชาการแล้ว ทั้งนี้ ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระเบียบหรือประกาศมหาวิทยาลัย
  4. ผ่านเกณฑ์การทดสอบภาษาอังกฤษตามที่มหาวิทยาลัย/หลักสูตรกำหนด (สำหรับนิสิตปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไป)

แบบฟอร์มต่าง ๆ